085-0005009

กู้ยืมเงิน เป็นการผิดสัญญาในทางแพ่ง ผู้ให้กู้ยืมสามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพื่อเรียกเงินคืนจากลูกหนี้เงินกู้ได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
          ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว”

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน (เกิน 2,000 บาทขึ้นไป) ที่จะสามารถฟ้องศาลได้ แบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

– กรณีมีสัญญาการยืมเงิน : ผู้ให้กู้ต้องมีหนังสือสัญญากู้ยืมที่ระบุสัญญาได้ทำขึ้นที่ไหน, วัน/เดือน/ปี ในการทำสัญญา, รายละเอียดของผู้ให้กู้และผู้กู้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รวมทั้งจำนวนเงินที่ยืม กำหนดชำระคืน ดอกเบี้ยต่อเดือน/ต่อปี (ถ้ามี) และลงลายมือชื่อของผู้กู้ หรือ การทำหนังสือหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ว่าจะทำก่อน ขณะหรือหลังจากการกู้ยืมเงินกัน ก็สามารถใช้ดำเนินการฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เช่นกัน

– กรณีไม่มีสัญญาการยืมเงิน :  ผู้ให้กู้สามารถใช้หลักฐานการ  Chat  ที่มีหลักฐานเป็นข้อความการสนทนาขอกู้ยืมเงิน  ผ่านผู้ให้บริการสนทนาที่น่าเชื่อถือ เช่น Facebook , LINE  หรือ สื่อโซเชียลอื่น และต้องมีข้อความที่ระบุว่า ใครเป็นผู้ขอยืม, จำนวนเงินที่ยืม, จะใช้คืนเมื่อไหร่, และหลักฐาน Slip การโอนเงิน ระบุวัน-เวลา ที่เราได้โอนเงินให้ผู้กู้ยืมครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว และนอกจากนี้ต้องมี ชื่อบัญชีผู้ใช้, ชื่อจริง, บัญชีธนาคารของผู้กู้ยืม, ต้องเก็บหลักฐานไว้ทันทีที่มีการกู้ยืมเงิน รักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่มีการตัดต่อแก้ไขวันที่ หรือเวลารับ-ส่งข้อความกัน เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน หรือ ฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน

กู้ยืมเงินแล้วไม่คืน มีอายุความกี่ปี ?
 การฟ้องศาลเพื่อเรียกเงินคืนตามสัญญากู้ยืมจะมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน
 แต่หากในสัญญากู้ยืมมีการตกลงกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยแบบเป็นงวด ๆ กรณีนี้จะมีอายุความเพียง 5 ปี

 

คลิ๊กปุ่มเพิ่มเพื่อน  ติดต่อทนาย